ข้อจำกัดของกล่องดนตรี

ก่อนจะอ่านเรื่องนี้ รบกวนเข้าไปอ่าน หลักการทำงานของกล่องดนตรี ก่อนนะครับ

การสร้างกล่องดนตรีนั้นมีข้อจำกัดหลายประการมาก ไม่ใช่ทุกเพลงที่สามารถทำได้ การเรียบเรียงโน๊ตของกล่องดนตรีจะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเหล่านี้ ไม่สามารถวางโน๊ตตำแหน่งไหนก็ได้เหมือนโน๊ตของเครื่องดนตรีอื่นๆ มีรายละเอียดดังนี้

    • ตำแหน่งของ pin อยู่ใกล้กันเกินไปไม่ได้ รูปด้านล่างคือ Demo ของเพลง Senario สังเกตุที่วงสีแดง มีโน้ต C เล่นติดกัน 3 ตัว ถ้าเราวางตำแหน่ง pin ตามนี้เลยจะทำให้ pin บน drum อยู่ใกล้กันมาก เวลาเล่น เมื่อ drum หมุนไปถึงจุดนี้ จะเกิดเสียง “เอี๊ยด” ซึ่งเกิดจากการที่ pin ที่1 ขึ้นมาดีดหวีทำให้หวีสั่น แล้ว pin ที่ 2 ก็ขึ้นมาดีดต่อเลยโดยที่การสั่นจาก pin ที่ 1 ยังไม่จบ การที่ pin ดีดหวีที่ยังสั่นอยู่ทำให้เกิดเสียง “เอี๊ยด” ปัญหานี้เป็นเรื่องปกติของกล่องดนตรี แม้แต่กล่องดนตรีจากโรงงาน Sankyo จากญี่ปุ่นที่ผลิตเพลงหนึ่งเป็นแสนๆชิ้น ยังมีเสียงนี้ คนวาง layout ตำแหน่ง pin จะต้องวางให้เกิดเสียงนี้น้อยที่สุด

วิธีการแก้ปัญหานี้คือ แทนที่จะให้โน้ต C มีแค่แถวเดียวและดีดด้วยหวี 1 ซี่ ก็ทำให้โน้ต C นี้ แบ่งเป็น 3 แถวและดีดหวี 3 ซี่แทน ด้วยวิธีนี้จะทำให้ pin ไม่ใกล้กันแล้ว ตามวงสีแดงในรูปด้านล่าง ซึ่งรูปนี้คือ layout ที่จะทำไปผลิต Drum จริง

ปัญหาที่ตามมาคือ เรามีหวีอยู่ 18 ซี่ แต่เราต้องแบ่งให้โน้ต C ไปแล้ว 3 ซี่ ทำให้เหลือโน้ตที่จะเรียบเรียงเพลงได้น้อยลง

นั่นหมายความว่า ยิ่งมีโน้ตซ้ำมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเหลือโน้ตไปทำเมโลดี้เสริมได้น้อยเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เรียบเพลงให้ไพเราะได้ยาก

      • ซี่ของหวีที่มีโน๊ตเดียวกันทำให้โน้ตเพี้ยนเล็กน้อย จากข้อที่แล้วที่บอกว่าเสียง “เอี๊ยด” เกิดจากการที่ pin ดีดหวีที่ยังสั่นอยู่ เราเลยแก้โดยกระจายโน้ตที่อยู่ใกล้กันไปให้หวีซี่อื่นดีด โดยทำซี่นั้นมีเสียงโน้ตเดียวกัน การทำแบบนี้แก้ปัญหาได้จริง แต่ก็มีผลข้างเคียง คือ เมื่อเราทำให้ซี่สองซี่มีโน๊ตเดียวกันหมายถึงเราทำให้ทั้งสองซี่มีความถี่ธรรมชาติเดียวกัน เช่น ทำให้หวีซี่ 1 และ 2 เป็นโน้ต C แสดงว่าทั้งสองซี่จะมีความถี่ธรรมาชาติเท่ากับ 523 Hz เหมือนกัน เมื่อเราดีดหวีซี่ที่ 1 ทำให้สั่น หวีซี่ที่ 2 ก็จะสั่นไปด้วยเองโดยที่ไม่มีอะไรไปดีดมัน นี่เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติเกิดขึ้นเมื่อมีของสองอย่างที่มีความถี่ธรรมชาติเท่ากันมาวางใกล้กัน วิธีแก้คือต้องเปลี่ยนความถี่ธรรมชาติของหวีซี่ที่ 2 ให้ไม่เป็น 523 Hz แต่นั่นก็หมายความว่าโน้ตจะเพี้ยนไปเล็กน้อย ซึ่งช่างทำหวีต้องทำให้การเพี้ยนนี้เกิดขึ้นน้อยจนฟังไม่ออกว่าเพี้ยน แต่ก็ไม่น้อยจนทำให้เกิดเสียง “เอี๊ยด”
      • ซี่ของหวีในโทนเสียงต่ำจะแก้เสียง “เอี๊ยด” ได้ยาก ซี่เสียงสูงกับ ซี่เสียงต่ำ มีการสั่นสะเทือนไม่เหมือนกัน ซี่เสียงต่ำเมื่อถูกดีดจะใช้เวลานานกว่า กว่าจะหยุดสั่น ดังนั้นถ้าเพลงไหนมีโน้ตซ้ำที่เสียงต่ำ จะแก้ได้ยาก
      • การแก้เสียงเอี๊ยดของ Only one music box ทางเราได้คิดค้นวิธีแก้ปัญหานี้ขึ้นมาได้วิธีหนึ่ง ซึ่งทำให้การสั่นสะเทือนของหวีน้อยลงเมื่อถูกดีด ทำให้สามารถวาง pin ได้ใกล้กันมากขึ้น แต่ผลข้างเคียงคือเสียงจะไม่กังวาล จะออกเสียง “ป็อก” (คล้ายกับอาการสายบอดเวลาเล่นกีต้า) คือถ้าแก้มากไปจะมีเสียง “ป๊อก” ถ้าแก้น้อยไปจะมีเสียง “เอี๊ยด” โดยช่างทำกล่องดนตรีจะพยายาม Balance ให้ออกมาดีที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *